บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สีผึ้ง(นวดทาปาก) แท้ๆ แต่โบราณจะเอาไปทาที่องค์พระเวลาจะติดทองคำเปลว
เพราะสีผึ้งจะช่วยทำให้ทองคำเปลวจับกับองค์พระได้แน่นขึ้นและไม่กัดกร่อนให้
องค์พระเสียหาย สารเคมีที่ว่าเจ๋งก็ยังสู้สีผึ้งไทยไม่ได้นอกจากนี้ ยังนับว่าเป็นคอสเมติคแบบไทยๆ ด้วยคนไทยแต่โบราณท่านจะหม่ำหมากพลูกัน ดังนั้นด้วยภูมิปัญญาอันเฉียบแหลม ไหนเลยจะยอมให้ปูนมากัดปากได้ ท่านก็เอาสีผึ้งแท้มาทาปากกันปูนกัดปาก หลังจากหม่ำหมากพลูแล้วปากจะแห้ง ท่านก็ทาสีผึ้งบำรุงปาก แล้วก็ทานวดอีกเพื่อให้ความชุ่มชื้น นับว่าภูมิปัญญาท่านหลักแหลมยิ่งนัก แถมเป็นการบำรุงกันแบบทวินแอคชั่นกันอีกต่างหาก สีผึ้งแท้เนื้อมีสีน้ำตาลไม่ว่าจะสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม ก็จะมีเนื้อใสเสมอ แต่ถ้าเป็นสีผี้งผสมเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลทึบๆ
สีผึ้งแท้จะหนืดมากๆ มีกลิ่นแบบขี้ผึ้งไหม้ๆ ส่วนสีผึ้งผสมจะเนื้อเหนียวๆแบบวาสลินเนื้อข้นๆ เนื้อเป็นมันและลื่นและมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
เนื้อสีผึ้งแท้จะหนืดเหนียว ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนสี่เหลี่ยมได้ในอุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นสีผึ้งผสมจะมีเนื้อเหนียวแต่ไม่หนืด และเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสวยงามได้
นวดแบบที่ชาวบ้านเคี่ยวเอง จะทำมาจากกะทิเคียวใส่สีผึ้ง จึงมีกลิ่นหอมมากๆ ส่วนนวดผสมเป็นการนำขี้ผึ้งเทียม วาสินมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวเฉยๆคะ
เหตุที่สีผึ้งกะนวด นี้ช่วยบำรุงริมฝีปากไม่แห้งแตกได้ เนื่องมาจากไขผึ้งเป็นไขมันเชิงซ้อนเหมือนลาโนลิน และน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันตัวเดียวกับ sweet almond oil ที่มีคุณสมบัติเรื่องบำรุงและความชุ่มชื้น
ไขผึ้ง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ขี้ผึ้ง เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ผลิตจากต่อมไข (wax gland) ซึ่งมีอยู่ 4 คู่ ซ่อนอยู่ภายในปล้องท้องของผึ้งงาน ถูกสังเคราะห์โดยน้ำตาล
ที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวจากระบบย่อยอาหาร ผลิตไขผึ้งออกมาในรูปเกล็ดบาง ๆ สีขาวเหมือนสีน้ำนม ซึ่งผึ้งงานใช้ในการสร้าง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง
ไขผึ้งบริสุทธิ์
มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง ลักษณะอ่อนนิ่ม เป็นมัน
เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว
เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ เช่น เกสร
โปรโปลิส และน้ำผึ้งเจือปนด้วย
ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไปไขผึ้งส่วนใหญ่จะถูกใช้
ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นส่วนผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม
และ ลิปสติก
นวดทาปาก(สีผึ้ง)
ยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ให้คนรุ่นหลังสืบทอดกันตลอดไปจุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.
เพื่ออนุรักษ์นวดทาปาก
2.
เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.
เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.
เพื่อฝึกการทำนวดทาปาก
5.
เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำนวดทาปากแบบไทย
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน
เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์นวดทาปากจากนวดทาปากธรรมดาเป็นสีสันต่างๆ
สีธรรมชาติหรือจากสมุนไพรขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับนวดทาปาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น