วิดีโอการทำนวดทาปาก
วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่
5
สรุปผลและอภิปรายผลงาน
สรุป
การทำโครงงานนวดทาปากครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงาน
เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ
และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
1.
สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.
ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.
นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ในการทำโครงงานเรื่องนวดทาปากในครั้งนี้
ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.
รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.
ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน
เพื่อการศึกษาต่อไป
3.
นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.
ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำนวดทาปาก
ข้อเสนอแนะ
นวดแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เรียกว่าสูตรใครก็สูตรมันคะ
อย่างแถวๆอิสานส่วนใหญ่จะผสมขมิ้นลงไป จึงมักมีสีเหลืองนวล
ทิ้งไว้นานจะขึ้นไขเล็กน้อย เนื้อแข็งแต่ลื่น
ถ้าเป็นนวดแบบโบราณที่เคยเจอจะกะทิลงไปด้วย เนื้อจะเหนียวๆไม่แข็งแบบที่เคี่ยวด้วยน้ำมันล้วนๆ
ส่วนนวดผสมมักเป็นสีขาวใส เนื้อเหนียวแบบวาสลินข้นๆแต่แข็งกว่าหน่อย
และเนื้อเป็นมันลื่น นวดหากเก็บไม่ดีมดชอบหม่ำนักแล เพราะว่ามันหอมหวล
ส่วนนวดผสมมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน นวดมีหลายรูปทรงแล้วแต่ท้องถิ่น แถบอิสานมักเป็นรูปถ้วย
ส่วนนวดผสมมักเห็นเป็นก้อนสีเหลี่ยม
จากประสบการ์การใช้สีผึ้งแล้วปากแดงขึ้นแต่ว่ามันหนืดมั่กมัก
ทาสีผึ้งบำรุงและช่วยให้ปากแดงขึ้น ทานวดทับลงไปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างมากมาย
สำหรับหนุ่ม ที่สึกใหม่ๆ คิ้วยังไม่มี
หากอยากให้คิ้วดกดำขึ้นไวๆ ให้เอาสีผึ้งทาบางๆตามแนวคิ้วเดิม
คิ้วจะขึ้นไวแถมดกดำหล่อเข้มขึ้นมาเชียว
สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากแห้งแตก ให้ทานวดก่อน
แล้วจึงทาด้วยสีผึ้ง
สำหรับผู้ที่มีปัญหาปากคล้ำดำทะมึน
ให้ทาสีผึ้งก่อน แล้วให้ทานวดตาม
วิธีทำ
นวดทาปาก
1. เตรียมส่วนผสมให้พร้อมทุกอย่าง
2. ติดไฟจากเตา
แล้วนำหม้อที่นำส่วนผสมต่างๆรวมกันขึ้นตั้งบนเตาไฟ
(ไม่ควรใช้ไฟแรงจนเกินไป) แล้วคนให้เข้าที่ตามความเหมาะสม นำน้ำใบเตยมาผสมกับน้ำกะทิลงในกระทะ แล้วคนให้เข้ากัน
3.ใช้ไม้สะอาดคน
และกวนไปเรื่อย ๆระวังอย่าให้ไฟแรง ต้องหมั่นคน และต้องใจเย็น ๆ
เคี่ยวไปจนกะทิเริ่มแตกมัน และตกตะกอนสีเหลือง และจะมีน้ำสีเหลือง นั่นคือ
น้ำกะทิและน้ำใบเตยที่เคี่ยวจนได้ที่แล้ว
4.จากนั้นกรองเอาแต่ส่วนที่ตกตะกอนสีเหลือง ที่เป็นน้ำสีเหลืองใสๆหรือเรียกว่าน้ำมันมะพร้าวใส่ภาชนะไว้
วิธีทำ การนำขี้ผึ้งมาผสม
1.นำภาชนะที่ใส่น้ำมันมะพร้าวเทใส่กระทะ
จากนั้นนำขี้ผึ้งที่หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ
ใส่ในอัตราส่วนระหว่างขี้ผึ้งกับน้ำมันมะพร้าว
2.พอใส่ขี้ผึ้งลงไปแล้ว
หลังจากนั้นคนจนให้ขี้ผึ้งละลาย
3.หลังจากขี้ผึ้งละลายแล้ว
แล้วนำไปกรองเอาสิ่งสกปรกออก จากนั้นนำไปเทใส่ภาชนะที่จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ทิ้งไว้ให้เย็น
แล้วรอจนแข็งตัว และสามารถนำมาใช้ได้ได้
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
นวดแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เรียกว่าสูตรใครก็สูตรมัน
อย่างแถวๆอิสานส่วนใหญ่จะผสมขมิ้นลงไป จึงมักมีสีเหลืองนวล
ทิ้งไว้นานจะขึ้นไขเล็กน้อย เนื้อแข็งแต่ลื่น
ถ้าเป็นนวดแบบโบราณที่เคยเจอจะกะทิลงไปด้วย
เนื้อจะเหนียวๆไม่แข็งแบบที่เคี่ยวด้วยน้ำมันล้วนๆ ส่วนนวดผสมมักเป็นสีขาวใส
เนื้อเหนียวแบบวาสลินข้นๆแต่แข็งกว่าหน่อย และเนื้อเป็นมันลื่น
นวดหากเก็บไม่ดีมดชอบหม่ำนักแล เพราะว่ามันหอมหวล
ส่วนนวดผสมมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน นวดมีหลายรูปทรงแล้วแต่ท้องถิ่น
แถบอิสานมักเป็นรูปถ้วย ส่วนนวดผสมมักเห็นเป็นก้อนสีเหลี่ยม
ไขผึ้งบริสุทธิ์ มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง
ลักษณะอ่อนนิ่ม เป็นมัน เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว
เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ เช่น เกสร
โปรโปลิส และน้ำผึ้งเจือปนด้วย ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไป
คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไขผึ้ง
- จุดหลอมเหลว 60 - 65
องศาเซลเซียส
- สารที่ระเหยได้ทั้งหมดไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์
- ค่าของก- ค่าสะปอนิฟิเคชั่น 80 -
105
- ค่าไอโอดีนไม่เกิน 10
- ค่าเอสเทอร์ 70 - 95
- สารที่ไม่ละลายในเบนซินไม่เกิน 0.2
บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สีผึ้ง(นวดทาปาก) แท้ๆ แต่โบราณจะเอาไปทาที่องค์พระเวลาจะติดทองคำเปลว
เพราะสีผึ้งจะช่วยทำให้ทองคำเปลวจับกับองค์พระได้แน่นขึ้นและไม่กัดกร่อนให้
องค์พระเสียหาย สารเคมีที่ว่าเจ๋งก็ยังสู้สีผึ้งไทยไม่ได้นอกจากนี้ ยังนับว่าเป็นคอสเมติคแบบไทยๆ ด้วยคนไทยแต่โบราณท่านจะหม่ำหมากพลูกัน ดังนั้นด้วยภูมิปัญญาอันเฉียบแหลม ไหนเลยจะยอมให้ปูนมากัดปากได้ ท่านก็เอาสีผึ้งแท้มาทาปากกันปูนกัดปาก หลังจากหม่ำหมากพลูแล้วปากจะแห้ง ท่านก็ทาสีผึ้งบำรุงปาก แล้วก็ทานวดอีกเพื่อให้ความชุ่มชื้น นับว่าภูมิปัญญาท่านหลักแหลมยิ่งนัก แถมเป็นการบำรุงกันแบบทวินแอคชั่นกันอีกต่างหาก สีผึ้งแท้เนื้อมีสีน้ำตาลไม่ว่าจะสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม ก็จะมีเนื้อใสเสมอ แต่ถ้าเป็นสีผี้งผสมเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลทึบๆ
สีผึ้งแท้จะหนืดมากๆ มีกลิ่นแบบขี้ผึ้งไหม้ๆ ส่วนสีผึ้งผสมจะเนื้อเหนียวๆแบบวาสลินเนื้อข้นๆ เนื้อเป็นมันและลื่นและมีกลิ่นแบบน้ำอบไทยอย่างชัดเจน
เนื้อสีผึ้งแท้จะหนืดเหนียว ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนสี่เหลี่ยมได้ในอุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นสีผึ้งผสมจะมีเนื้อเหนียวแต่ไม่หนืด และเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสวยงามได้
นวดแบบที่ชาวบ้านเคี่ยวเอง จะทำมาจากกะทิเคียวใส่สีผึ้ง จึงมีกลิ่นหอมมากๆ ส่วนนวดผสมเป็นการนำขี้ผึ้งเทียม วาสินมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวเฉยๆคะ
เหตุที่สีผึ้งกะนวด นี้ช่วยบำรุงริมฝีปากไม่แห้งแตกได้ เนื่องมาจากไขผึ้งเป็นไขมันเชิงซ้อนเหมือนลาโนลิน และน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันตัวเดียวกับ sweet almond oil ที่มีคุณสมบัติเรื่องบำรุงและความชุ่มชื้น
ไขผึ้ง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ขี้ผึ้ง เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ผลิตจากต่อมไข (wax gland) ซึ่งมีอยู่ 4 คู่ ซ่อนอยู่ภายในปล้องท้องของผึ้งงาน ถูกสังเคราะห์โดยน้ำตาล
ที่มีโมเลกุลเชิงเดี่ยวจากระบบย่อยอาหาร ผลิตไขผึ้งออกมาในรูปเกล็ดบาง ๆ สีขาวเหมือนสีน้ำนม ซึ่งผึ้งงานใช้ในการสร้าง ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง
ไขผึ้งบริสุทธิ์
มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง ลักษณะอ่อนนิ่ม เป็นมัน
เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว
เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ เช่น เกสร
โปรโปลิส และน้ำผึ้งเจือปนด้วย
ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไปไขผึ้งส่วนใหญ่จะถูกใช้
ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นส่วนผสมของครีมต่าง ๆ โลชั่น น้ำมันแต่งผม
และ ลิปสติก
นวดทาปาก(สีผึ้ง)
ยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ให้คนรุ่นหลังสืบทอดกันตลอดไปจุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.
เพื่ออนุรักษ์นวดทาปาก
2.
เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.
เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.
เพื่อฝึกการทำนวดทาปาก
5.
เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำนวดทาปากแบบไทย
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน
เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์นวดทาปากจากนวดทาปากธรรมดาเป็นสีสันต่างๆ
สีธรรมชาติหรือจากสมุนไพรขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับนวดทาปาก
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการทำนวดทาปากที่ถูกวิธีและใช้แทนลิปติกได้ นวดสามารถใช้ทาปากไม่ให้แห้งแตกได้ดีทีเดียว ซึ่งนวดทาปากก็เป็นลิปติกชนิดหนึ่งถือเป็นการช่วยอนุรักษ์สูตรนวดทาปากของไทยมาแต่โบราณและเป็นวัฒนธรรมไทยไปในตัวด้วย และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จรุร่วงไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)